วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฮาร์ดดิสก์มาตราฐานที่ใช้ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น
EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ในสมัยเริ่มต้น จะเป็นแบบ PIO (Programmed Input Output) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลแบบ PIO นี้ยังมีการทำงานแยกออกไปหลายโหมด โดยจะมีความเร็วในกรรับส่งข้อมูลต่าง ๆ กันไป ดังตารางต่อไปนี้


http://sakkan.blogbkk.com/main.php?pack=blog_view&t=1&t2=&t3=&id=213

การ Format Hard Disk บ่อยๆ จะมีผลเสียงอย่างไร

"การฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์บ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะว่าจะทำให้โครงสร้างทางการยภาพของฮาร์ดดิสก์นั้นเสื่อม สำหรับข้อดีก็อยู่ที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบ Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่งฟอร์เมต ซึ่งพิมพ์พารามิเตอร์ /C ส่วนการพิมพ์พารามิเตอร์ /U นั้นทำบ่อย ๆ ไม่ดี เพราะจะทำให้โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นพัง มีอายุการใช้งานที่สั้นลง หรือ เสื่อมสภาพเร็ว แต่การใช้พารามิเตอร์นี้มักจะใช้แล้วเกิดประโยชน์ตรงที่ฮาร์ดดิสก์ของเราเกิด Bad Sector ขึ้นแล้ว ซึ่งก็ควรจะใช้ร่วมกับพารามิเตอร์ /C แต่ถ้าหากว่าเราฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ด้วยพารามิเตอร์ /Q นั้นก็จะไม่มีผลต่อโครงสร้างทางกายภาพของฮาร์ดดิสก์เท่าไหร่นัก เพราะว่าเป็นเพียงแค่การลบฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์อย่างรวดเร็ว และสำหรับการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่พารามิเตอร์ใด ๆ เลยนั้นถือว่าปลอดภัยต่อฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างสูง สามารถฟอร์เมตบ่อย ๆ ได้ เพราะการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์โดยไม่มีการใส่พารามิเตอร์นั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นการทำลายโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด สำหรับการแก้ไขปัญหาโดยการฟอร์เมตจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหนทางการแก้ไขที่ถูกต้องนัก ผู้วชาญทางคอมพิวเตอร์แนะนำว่าให้ทำวิธีการนี้เป็นวิธีการสุดท้าย ใช้ในยามที่จำเป็น หรือหากว่า แก้ไขด้วยทางอื่นไม่ได้แล้ว เท่านั้น"
"ผมขอยืนยันอีกคนครับว่า ฟอร์แมตบ่อยๆไม่เจ๊งครับ ความเชื่อที่ว่า ฟอร์แมตฮาดดิกส์บ่อยๆจะทำให้เป็นแบด อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิดครับ (ซึ่งผมเองก็เคยคิดว่าเป็นแบบนั้น) จนตอนหลังมารับรู้จากบุคคลที่เชื่อถือได้คือปรมาจารย์ของผมเอง ดร.วิรินทร์ ไม่รู้มีใครรู้จักไหม การฟอร์แมตมันก็ไม่ต่างจาการลบไฟล์ทิ้งในฮาดดิกส์แต่ในความเป้นจริงทางเทคนิคคุณฟอร์แมตไปมันก็ยังไม่ได้ไปลบอะไรจริงเพียงแต่มันจัดการให้ข้อมูลทุกอย่างเสมือนหายไป แต่คลื่นแม่เหล็กที่เป้นในส่วนของข้อมูลตรงที่เดิมก็ยังอยู่แต่ถูกมองให้เป็นที่ว่าง ผมจะอธิบายยังไงดีอะ การลบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เหมือนกับคุณมีข้อมุลอยู่ใน แฟ้ม1แฟ้ม มีข้อมูลอยู่ 10 g ชื่อแฟ้มว่า aaa พอคุณจัดการกด delete คอมพิวเตอร์มันก็จะทำให้ข้อมูลหายไปโดยลบชื่อแฟ้ม aaa ออก มันก็จะมองว่าลบไปแล้ว 10 g เป็นเนื้อที่ว่าง แต่ความจริงกระแสแม่เหล็กของข้อมุลตรงนั้นยังคงอยู่ในส่วนของ sector นั้น ซึ่งแน่นอนถ้าคุณเพิ่งลบไปเมื่อตะกี้นี้คุณสามารถกู้คืนได้ แต่ถ้าคุณลบแล้วคุณใช้คอมไปเรื่อยๆซึ่งคอมพิวเตอร์มันจะมีการเขียนข้อมูลและลบข้อมูลอยู่ตลอดเวลามันอาจจะไปเขียนซ้ำลงในส่วนของข้อมูลไฟล์เก่าเมื่อนั้นแหละที่ไฟล์ aaa คุณจะหายไปของจริงกู้คืนไม่ได้เพราะแม่เหล็กถูกเปลี่ยนไปแล้ว การฟอร์แมตก็เช่นกันมันก็เหมือนการบอกว่าตรงนั้นเป้นพื้นที่ว่าง แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ได้ไปทำการเคลียร์กระแสแม่เหล็กเป็นอีกอย่างไม่ใช้ครับมันแค่ลบชื่อแฟ้มนั้นออกเท่านี้ก็เป้นเนื้อที่ว่างแล้วครับ"

http://community.thaiware.com/lofiversion/index.php/t343203.html

การดูแลรักษาฮาร์ดิสก์

วิธีการดูแลบำรุงรักษา
ท้าย สุด เรามาดูวิธีการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟนั้นสำคัญการเรามาก ดังนั้นเมื่อเป็นของรักก็ต้องดูแลรักษากันหน่อย โดยวิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปนั้น จะมีสองขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. ทำการ Check Disk เป็นประจำข้อ นี้จะเป็นข้อแนะนำแรกๆ เสมอ เมื่อพูดถึงการการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Check Disk ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Check Now เท่านี้ก็เรียบร้อย อาจเลือกอ็อปชันอื่นๆ ตามความต้องการ ทั้งนี้หาก Hard Disk ที่ต้องการทำการ Check นั้นเป็นพาร์ติชันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการอยู่ ก็จะแสดง Message แจ้งให้ทำการ Check ในตอนการสตาร์ทเครื่อง หากทำเป็นประจำก็ช่วยให้ฮาร์ดดิสมีสุขภาพแข็งแรง และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
2. ทำการ Defragment สม่ำเสมอข้อนี้ อาจจะไม่ได้ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น หรือเสียยากขึ้นโดยตรง แต่จะช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ ทำงานน้อยลง การสึกหรอน้อยลง ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้น โดยทั่วไปจะจัดเก็บแบบสุ่ม นั้นคือ ไฟล์เดียวกันอาจจะจัดเก็บอยู่คนละที่กัน ซึ่งทำให้การแอคเซสไฟล์นั้น ทำได้ช้ากว่าการที่ไฟล์เก็บอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากหัวอ่านอาจต้องย้อนกลับไปกลับมา นอกจากนี้การ Defrag ยั้งช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Defragment ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Defragment Now จากนั้นเลือก Hard Disk ตัวที่ต้องการ หากไม่อยากใช้โปรแกรมของวินโดวส์ ก็สามารถใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อ Power Defragmenter ก็ได้ อ่านรายละเอียดวิธีใช้ได้ที่เว็บไซต์ Power Defragmenter
3. ทำประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูลเป็น การรับประกันว่าถ้าเกิดดวงแตกขึ้นมาจริงๆ จะเกิดผลกระทบกับข้อมูลน้อยที่สุด (ไม่รวมผลกระทบกับกระเป๋าสตางค์) ก็ให้ทำการซื้อประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูล ไม่ต้องตกใจครับ ผมไม่ได้ให้ไปซื้อประกันกับบริษัทขายประกันซะหน่อย แต่หมายถึงให้ทำการ Backup ข้อมูล เก็บไว้ในสื่อต่างๆ เช่น CD หรือ DVD เป็นต้น ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ยากอะไร คิดว่าคงทำเป็นกันทุกท่าน วิธีการ Backup อย่างง่ายที่สุด ก็ให้เขียนลงแผ่น CD หรือ DVD ไปเลย แต่ถ้าหากต้องการให้ดูเป็นมืออาชีพ ก็สามารถใช้โปรแกรมช่วยในการ Backup ก็ไม่ว่ากัน วิธีที่ง่ายและฟรี คือ ใช้โปรแกรม Backup ที่มากับวินโดวส์แล้ว (เรียกได้จาก All Programs\Accessorie\System Tools\Backup) ซึ่งใช้งานได้ดีในระดับนึง สำหรับวิธีการใช้งานอย่างละเอียดนั้น เอาไว้โอกาสต่อไปจะเขียนให้อ่านกันในครั้งต่อๆ ไปครับ และสำหรับวิธีการป้องกันข้อมูลสูญหายสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ การป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากมัลแวร์ และ การป้องกันข้อมูลสูญหาย
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);


http://www.oknation.net/blog/itpro/2009/02/14/entry-1

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบการทำงาน และประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAM กับ DDR-RAM

หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ

ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน


http://www.sglcomp.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=376057

ระบบบัสของแรมคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์การส่งถ่ายข้อมูลส่วนมากจะเป็นระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ภายนอกทั้งหมด โดยผ่านบัส ในไมโครโพรเซสเซอร์จะมีบัสต่างๆ ดังนี้คือ
บัสข้อมูล (DATA BUS) คือบัสที่ ไมโครโพรเซสเซอร์ (ซีพียู) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากตัวซีพียูไปยังอุปกรณ์ภายนอกหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก เพื่อทำการประมวลผลที่ซีพียู
บัสรองรับข้อมูล (ADDRESS BUS) คือบัสที่ตัวซีพียู เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใดโดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทางแอดเดรสบัส
บัสควบคุม (CONTROL BUS) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากตัวซีพียูโดยบัสควบคุม เพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไป จากตัวซีพียู โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น ไมโครโพรเซสเซอร์ไม่ใช่จะควบคุมการทำงานของบัสทั้งหมด บางกรณีในการส่งถ่ายข้อมูลภายนอกด้วยกันเอง ผ่านบัสได้เป็นกรณีพิเศษเหมือนกัน เช่น การอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่ สามารถส่งผ่านมายังหน่วยความจำหลักได้โดยไม่ผ่านไมโครโพรเซสเซอร์เลย ก็โดยการใช้ขบวนการที่เรียกว่า ขบวนการ DMA (DIRECT MEMORY ACCESS)


http://yalor.yru.ac.th/~nipon/Archi_html/chapter3/page7.html

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เมนบอร์ดคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมนบอร์ดคืออะไร

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์
ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)
หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี
(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่
สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด


http://members.fortunecity.com/sompos/page1.html



ความสำคัญของเมนบอร์ด

ชิ้นสวนคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น โปรเซสเซอร์, หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, ออปติคัลไดรฟ์ และเอ็กซ์แพนชั่นการ์ด จำเป็นต้องติดตั้งลงบนเมนบอร์ด เมนบอร์ดนั้นมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเสถียรภาพของระบบ และยังมีผลกระทบกับข้อมูลจำเพาะขององค์ประกอบที่สามารถใช้ได้ และสมรรถนะของระบบด้วย

http://diy.alinkcorp.com/diy_pc/pc_chapter_mainboard.asp

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เมื่อเมนบอร์ดชำรุด

การดูแลรักษาเมนบอร์ด (Mainboard or Motherboard)

เมนบอร์ด (Mainboard or Motherboard) เป็นส่วนประกอบที่เห็นได้ง่ายมาก เมื่อเปิดฝาเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ออก เพราะจะเป็นชิ้นส่วนที่วางอยู่เป็นพื้นให้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอื่นเป็นอุปกรณ์ที่มี Chip ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งตัวรับและจ่ายไฟให้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้ามีอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS) ก็จะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นไปอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ และไม่ทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ชำรุดเสียหาย ในกรณีที่เกิดไฟตกไฟกระชากอีกด้วย


การดูแลรักษาซีพียู จึงต้องทำให้พัดลมระบายอากาศ และชุดจ่ายไฟฟ้ามีการทำงานที่ปกติอยู่เสมอ การตรวจเช็คอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้ง่าย ๆ โดยการสังเกตว่า มีการทำงานปกติหรือไม่ ? มีเสียงผิดปกติขณะทำงานหรือไม่ ? โดยอุปกรณ์ทั้งสองสามารถเสื่อมลงได้ตามระยะเวลาใช้งาน โดยทั่วไปหากซีพียูต้องทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ซีพียูจะหยุดทำงานเพื่อป้องกันความเสียหาย อาจทำให้เกิดอาการเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ไปซักครู่ แล้วดับไปเองบ่อย ๆ (สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือซีพียูร้อนจนเกินไป)


http://www.it.coj.go.th/mainboardmaintenance.html

หลักการเลือกซื้อเมนบอร์ด

สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ

สิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น คุณจะต้อง พิจารณาในส่วนต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาทิเช่น ความคอมแพตทิเบิลของเมนบอร์ดกับซีพียู, ซิพเซต, ไบออส,I/O chips, พอร์ตต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบหรือโครงสร้างของเมนบอร์ดด้วย ฯลฯ นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกประการก็คือ ยี่ห้อและรุ่นของเมนบอร์ดที่จะนำมาใช้กับการทำงานที่ต้องการและประสิทธิภาพในการทำงาน ที่ได้รับ

เมนบอร์ดในปัจจุบัน

เริ่มจากอดีตจนถึงปัจจุบันหน้าตาของเมนบอร์ดและประสิทธิภาพในการทำงานของเมนบอร์ด มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธภาพในการทำงานมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้เมนบอร์ด ที่กำลังเป็นที่นิยมกันก็คงจะหนีไม่พ้นเมนบอร์ดเพนเทียมที่แซงหน้าเมนบอร์ดรุ่น 486 ที่กำลัง จะกลายเป็นเมนบอร์ดที่ถูกทอดทิ้ง เนื่องจากประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของเมนบอร์ด เพนเทียม อีกทั้งแนวโน้มที่กำลังมาแรงของเมนบอร์ดเพนเทียมโปรที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ออกมามาก ขึ้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ความสนใจและจับตามองความเคลื่อนไหวอย่าง ต่อเนื่อง

เมนบอร์ดที่มีคุณลักษณะที่เรียกว่า ATX Form Factor นั่นก็คือการจัดองค์ประกอบหรือวงจร ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้มีความกระชับ และเสันทางเดินวงจรใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยัง built-in พวกพอร์ตต่าง ๆ ไว้ เช่น Com1, Com2, PS/2 Keyboard, Mouse และ Parallelไว้บน เมนบอร์ดอีกด้วย

คุณลักษณะสำคัญ ในการเลือกซื้อ

คุณลักษณะ ATX

เมนบอร์ดในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้มีความกระชับและมีความสามารถ เพิ่มขึ้น ซึ่งเมนบอร์ด ATX นั่นก็คือ เมนบอร์ดที่ออกแบบวงจรให้มีความกะทัดรัดมากขึ้น ซึ่ง จะทำให้มีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้นประมาณ 10% รวมทั้งส่วนของ I/O Controler ที่มีอยู่ บนเมนบอร์ด และพวกพอร์ตต่าง ๆ เช่น Com1, Com2, PS/2, Parallel port, Mouse, มีติดอยู่กับบอร์ดให้เลย

นอกจากนี้ในส่วนของ IR (infrared) Com Port ยังป็นอีกส่วนบนเมนบอร์ดซึ่งจะช่วยในเรื่อง ของการส่งรับข้อมูลโดยผ่านอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบอินฟราเรดอย่างพวกคีย์บอร์ด และ เครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่ ๆ ของ HP ทุกรุ่นจะสนับสนุนการทำงานระบบ อินฟราเรด

USB (Universal Serial Bus)

ช่องต่อ I/O ที่สามารถต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมแบบ Plug & Play ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่าน ข้อมูลสูงสุด 12 Mbและต่ำสุด 1.5 Mb (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม)

เมนบอร์ดที่พร้อมด้วยเทคโนโลยี USB (Universal Serial Bus ) ซึ่ง USB ที่ว่านี้เป็น I/O ที่เพิ่มเติมเข้ามาบนเมนบอร์ด สำหรับต่ออุปกรณ์ Plug and Play โดยในส่วนของ USB นี้ จะเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการใช้งานเมนบอร์ดเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถต่อ เชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับพีซีได้อย่างง่ายดาย เช่น การเชื่อมต่อจอภาพ, เครื่องพิมพ์, โมเด็ม, สแกนเนอร์, กล้องดิจิตอล,จอยสติกซ์, ลำโพงดิจิตอล ฯลฯ USB มีความเร็ว (data rate) สูงสุด 12 Mbps และต่ำสุด 1.5 Mbps (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม) นับว่า USB ที่พัฒนาออกมานี้เป็น การประชันกับการ์ด SCSI ซึ่งคาดว่าในอนาคตคงจะเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และอาจจะเป็น อีกออปชันหนึ่งที่ถูกพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ดในอนาคต

Pipelined Burst Cache

เมนบอร์ดนับว่าเป็นหัวใจหลักเลยทีเดียวในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะเป็นแผง วงจรที่รวบรวมหน้าที่ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานไว้อย่างครบถ้วน ดังนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้ควรพิจารณาด้วยก็คือส่วนที่เรียกว่า Pipelined Burst Cache ซึ่งในส่วนนี้ เพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นใช้บนเมนบอร์ดเพนเทียมเป็นครั้งแรกเมื่อไม่นานมานี้ ในระยะแรก ๆ นั้นจะเป็นเพียงโมดุลที่แยกย่อยให้ติดตั้งเพิ่ม แต่ในปัจจุบันได้มีการ built-in ลงบนเมนบอร์ดเลย

Pipelined Burst Cache นี้เป็นแคชที่เร็วกว่าแคชธรรมดา และมีหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ใน การรับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ RAM ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น

I/O chips

สิ่งสุดท้ายที่จะกล่าวถึงความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อเมนบอร์ดก็คือ I/O chips อาทิเช่น ชิพ UART16550 ซึ่งเป็นชิพที่ช่วยในการควบคุมการ Input และ Output ของ อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิว เตอร์ที่เป็น Com Ports โมเด็มความเร็วสูงในปัจจุบัน จะต้องการส่วนนี้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วบนเมนบอร์ดปัจจุบันทุกรุ่น นอกเหนือจากสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นที่เป็นปัจจัยต่อการพิจารณาเลือกซื้ อเมนบอร์ดแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรจะพิจารณา เพิ่มเติมร่วมด้วยนั่นก็คือการปรับ Voltage ซึ่งบนเมนบอร์ดจะมีตัว Regulator สำหรับแปลง ไฟโดยสามารถเซตได้ที่จัมเปอร์

http://support.mof.go.th/mainboard.htm

การทำงานของเมนบอร์ด

เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย


http://support.mof.go.th/mainboard.htm

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์

ขนาดของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

Microcomputer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งทำงานโดยระบบผู้ใช้คนเดียว ( Single-user System ) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Personal Computers (PCs) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะกับงานประเภท Word Processing และ Spreadsheets
2. Workstations ( สถานีงาน ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง นิยมนำไปใช้ในงาน
ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2. Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุต่ำกว่าระบบเมนเฟรม
มินิคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user System) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี หรืออาจนำไปใช้ร่วมกับระบบเมนเฟรมก็ได้

3. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำรองจาก Supercomputer มีความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร, สายการบิน, บริษัทประกันภัย, มหาวิทยาลัย เป็นต้น
4. Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบบนเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้าแพงมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้แพร่หลายนัก

http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_04.htm

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบ

จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง

มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)

ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)

หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)

ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)

2. แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer


http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page3.html

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรองของระบบคอมพิวเตอร์


ส่วนความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงาน
ติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที
ข่าวสารหรือข้อมูลที่จะเก็บไว้ในส่วนความจำนั้นเป็นรหัสแทนเลขฐานสอง (binary) คือ ๐ กับ ๑ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นกลุ่ม ๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด เพื่อความสะดอกขอนิยามไว้ดังนี้
บิต (bit) เป็นชื่อที่เขียนย่อจาก binary digit ซึ่งหมายถึงตัวเลขฐานสองคือ ๐ กับ ๑ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของหน่วยความจำ
ไบต์ (byte) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของบิต ซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ เช่น ๖ บิต ๘ บิต…….ก็ได้ ซึ่งเรียกว่า ๖ บิตไบต์ ๘ บิตไบต์ ๑๖ บิตไบต์……..ตามลำดับ เป็นต้น
ตัวอักษร (character) หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ คือตัวเลข 0-9 ตัวอักษร A-Z
และเครื่องหมายพิเศษบางอย่างที่จำเป็น เช่น ( ), < , +, = ,………. ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องแทนตัวอักษรหนึ่ง ๆ ด้วยรหัสของกลุ่มเลขฐานสอง 1 ไบต์ (ซึ่งอาจเป็น 7 หรือ 8 บิตไบต์) คำ (word) หมายถึงกลุ่มของเลขฐานสองตั้งแต่ 1 ไบต์ขึ้นไป ที่สามารถเก็บไว้ในส่วนความจำ เพียง 1 แอดเดรส ขนาดของคำขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 2 ไบต์ แต่ละไบต์เป็นชนิด 8 บิต ดังนั้นคำหนึ่งจึงมี 16 บิต บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 4 ไบต์ แต่ละไบต์เป็นชนิด 8 บิต ดังนั้นคำหนึ่งจึงมี 32 บิต เครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องใช้คำหนึ่งประกอบขึ้นจาก 48 หรือ 64 บิตก็มี ขนาดของส่วนความจำบอกเป็นจำนวน K คำ ซึ่ง K ย่อมาจากคำว่า kilo อันหมายถึง 1,000 แต่ ค่าที่แท้จริงคือ 2 10 = 1,024 หน่วยของส่วนความจำหน่าวยหนึ่งอาจจะมีจำนวนต่ำสุด 4K จึงถึงใหญ่สุด 128K (ชนิดของแกนแม่เหล็ก) หรือใหญ่สุด 4,000K (ชนิดของวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่) ในยุคสังคมสารสนเทศทุกวันนี้ ข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนหรือขนาดใหญ่ มาก ตามความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของปัญหาที่พบในงานต่างๆ หน่วยความจำหลักที่ใช้เก็บข้อ มูลในคอมพิวเตอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลักจะมีขนาดจำกัด ทำให้ไม่พอเพียงสำหรับการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ในระบบคอมพิวเตอร์จึงมักติดตั้งหน่วยความจำรอง เพื่อนำมาใช้ เก็บข้อมูลจำนวนมาก เป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ถ้า มีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะทำงานข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักหรือแรมจะสูญหายไปหมด หากมีข้อมูลส่วนใดที่ต้องการเก็บไว้ใช้งานในภายหลังก็สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำรอง หน่วยความจำรองที่ นิยมใช้กันมากจะเป็นจานแม่เหล็กซึ่งจะมีทั้ง
แผ่นบันทึกและฮาร์ดดิสก์

แผ่นบันทึก (Floopy Disk)
ฮาร์ดดิสค์ (Hard disk)

http://iconsult.atspace.com/iDocuments/comfix5.htm

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3.หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยความจำภายใน
- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm


ชื่อ นางสาวนุจรี สุขเจริญ

ชื่อเล่น นุช

วันเกิด 2 พฤษภาคม 2536

บ้านเลขที่ 102 ม.6 ต.ขุนโขลน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี