วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฮาร์ดดิสก์มาตราฐานที่ใช้ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น
EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ในสมัยเริ่มต้น จะเป็นแบบ PIO (Programmed Input Output) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านซีพียู คือรับข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลแบบ PIO นี้ยังมีการทำงานแยกออกไปหลายโหมด โดยจะมีความเร็วในกรรับส่งข้อมูลต่าง ๆ กันไป ดังตารางต่อไปนี้


http://sakkan.blogbkk.com/main.php?pack=blog_view&t=1&t2=&t3=&id=213

การ Format Hard Disk บ่อยๆ จะมีผลเสียงอย่างไร

"การฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์บ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะว่าจะทำให้โครงสร้างทางการยภาพของฮาร์ดดิสก์นั้นเสื่อม สำหรับข้อดีก็อยู่ที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบ Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่งฟอร์เมต ซึ่งพิมพ์พารามิเตอร์ /C ส่วนการพิมพ์พารามิเตอร์ /U นั้นทำบ่อย ๆ ไม่ดี เพราะจะทำให้โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นพัง มีอายุการใช้งานที่สั้นลง หรือ เสื่อมสภาพเร็ว แต่การใช้พารามิเตอร์นี้มักจะใช้แล้วเกิดประโยชน์ตรงที่ฮาร์ดดิสก์ของเราเกิด Bad Sector ขึ้นแล้ว ซึ่งก็ควรจะใช้ร่วมกับพารามิเตอร์ /C แต่ถ้าหากว่าเราฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ด้วยพารามิเตอร์ /Q นั้นก็จะไม่มีผลต่อโครงสร้างทางกายภาพของฮาร์ดดิสก์เท่าไหร่นัก เพราะว่าเป็นเพียงแค่การลบฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์อย่างรวดเร็ว และสำหรับการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่พารามิเตอร์ใด ๆ เลยนั้นถือว่าปลอดภัยต่อฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างสูง สามารถฟอร์เมตบ่อย ๆ ได้ เพราะการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์โดยไม่มีการใส่พารามิเตอร์นั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นการทำลายโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด สำหรับการแก้ไขปัญหาโดยการฟอร์เมตจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหนทางการแก้ไขที่ถูกต้องนัก ผู้วชาญทางคอมพิวเตอร์แนะนำว่าให้ทำวิธีการนี้เป็นวิธีการสุดท้าย ใช้ในยามที่จำเป็น หรือหากว่า แก้ไขด้วยทางอื่นไม่ได้แล้ว เท่านั้น"
"ผมขอยืนยันอีกคนครับว่า ฟอร์แมตบ่อยๆไม่เจ๊งครับ ความเชื่อที่ว่า ฟอร์แมตฮาดดิกส์บ่อยๆจะทำให้เป็นแบด อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิดครับ (ซึ่งผมเองก็เคยคิดว่าเป็นแบบนั้น) จนตอนหลังมารับรู้จากบุคคลที่เชื่อถือได้คือปรมาจารย์ของผมเอง ดร.วิรินทร์ ไม่รู้มีใครรู้จักไหม การฟอร์แมตมันก็ไม่ต่างจาการลบไฟล์ทิ้งในฮาดดิกส์แต่ในความเป้นจริงทางเทคนิคคุณฟอร์แมตไปมันก็ยังไม่ได้ไปลบอะไรจริงเพียงแต่มันจัดการให้ข้อมูลทุกอย่างเสมือนหายไป แต่คลื่นแม่เหล็กที่เป้นในส่วนของข้อมูลตรงที่เดิมก็ยังอยู่แต่ถูกมองให้เป็นที่ว่าง ผมจะอธิบายยังไงดีอะ การลบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้เหมือนกับคุณมีข้อมุลอยู่ใน แฟ้ม1แฟ้ม มีข้อมูลอยู่ 10 g ชื่อแฟ้มว่า aaa พอคุณจัดการกด delete คอมพิวเตอร์มันก็จะทำให้ข้อมูลหายไปโดยลบชื่อแฟ้ม aaa ออก มันก็จะมองว่าลบไปแล้ว 10 g เป็นเนื้อที่ว่าง แต่ความจริงกระแสแม่เหล็กของข้อมุลตรงนั้นยังคงอยู่ในส่วนของ sector นั้น ซึ่งแน่นอนถ้าคุณเพิ่งลบไปเมื่อตะกี้นี้คุณสามารถกู้คืนได้ แต่ถ้าคุณลบแล้วคุณใช้คอมไปเรื่อยๆซึ่งคอมพิวเตอร์มันจะมีการเขียนข้อมูลและลบข้อมูลอยู่ตลอดเวลามันอาจจะไปเขียนซ้ำลงในส่วนของข้อมูลไฟล์เก่าเมื่อนั้นแหละที่ไฟล์ aaa คุณจะหายไปของจริงกู้คืนไม่ได้เพราะแม่เหล็กถูกเปลี่ยนไปแล้ว การฟอร์แมตก็เช่นกันมันก็เหมือนการบอกว่าตรงนั้นเป้นพื้นที่ว่าง แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ได้ไปทำการเคลียร์กระแสแม่เหล็กเป็นอีกอย่างไม่ใช้ครับมันแค่ลบชื่อแฟ้มนั้นออกเท่านี้ก็เป้นเนื้อที่ว่างแล้วครับ"

http://community.thaiware.com/lofiversion/index.php/t343203.html

การดูแลรักษาฮาร์ดิสก์

วิธีการดูแลบำรุงรักษา
ท้าย สุด เรามาดูวิธีการดูแลบำรุงรักษา เนื่องจากฮาร์ดดิสก์สุดเลิฟนั้นสำคัญการเรามาก ดังนั้นเมื่อเป็นของรักก็ต้องดูแลรักษากันหน่อย โดยวิธีการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปนั้น จะมีสองขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1. ทำการ Check Disk เป็นประจำข้อ นี้จะเป็นข้อแนะนำแรกๆ เสมอ เมื่อพูดถึงการการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Check Disk ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Check Now เท่านี้ก็เรียบร้อย อาจเลือกอ็อปชันอื่นๆ ตามความต้องการ ทั้งนี้หาก Hard Disk ที่ต้องการทำการ Check นั้นเป็นพาร์ติชันที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการอยู่ ก็จะแสดง Message แจ้งให้ทำการ Check ในตอนการสตาร์ทเครื่อง หากทำเป็นประจำก็ช่วยให้ฮาร์ดดิสมีสุขภาพแข็งแรง และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
2. ทำการ Defragment สม่ำเสมอข้อนี้ อาจจะไม่ได้ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น หรือเสียยากขึ้นโดยตรง แต่จะช่วยให้การทำงานของกลไกต่างๆ ทำงานน้อยลง การสึกหรอน้อยลง ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์นั้น โดยทั่วไปจะจัดเก็บแบบสุ่ม นั้นคือ ไฟล์เดียวกันอาจจะจัดเก็บอยู่คนละที่กัน ซึ่งทำให้การแอคเซสไฟล์นั้น ทำได้ช้ากว่าการที่ไฟล์เก็บอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากหัวอ่านอาจต้องย้อนกลับไปกลับมา นอกจากนี้การ Defrag ยั้งช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งมีโปรแกรมสำหรับทำ Defragment ให้มาพร้อมกับวินโดวส์อยู่แล้ว และวิธีการทำก็ง่ายโดยการเปิด My Computer แล้วคลิกขวาที่ Hard Disk ที่ต้องการ คลิก Propeties จากนั้นคลิก Tools แล้วคลิก Defragment Now จากนั้นเลือก Hard Disk ตัวที่ต้องการ หากไม่อยากใช้โปรแกรมของวินโดวส์ ก็สามารถใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อ Power Defragmenter ก็ได้ อ่านรายละเอียดวิธีใช้ได้ที่เว็บไซต์ Power Defragmenter
3. ทำประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูลเป็น การรับประกันว่าถ้าเกิดดวงแตกขึ้นมาจริงๆ จะเกิดผลกระทบกับข้อมูลน้อยที่สุด (ไม่รวมผลกระทบกับกระเป๋าสตางค์) ก็ให้ทำการซื้อประกันอุบัติเหตุให้กับข้อมูล ไม่ต้องตกใจครับ ผมไม่ได้ให้ไปซื้อประกันกับบริษัทขายประกันซะหน่อย แต่หมายถึงให้ทำการ Backup ข้อมูล เก็บไว้ในสื่อต่างๆ เช่น CD หรือ DVD เป็นต้น ซึ่งวิธีการก็ไม่ได้ยากอะไร คิดว่าคงทำเป็นกันทุกท่าน วิธีการ Backup อย่างง่ายที่สุด ก็ให้เขียนลงแผ่น CD หรือ DVD ไปเลย แต่ถ้าหากต้องการให้ดูเป็นมืออาชีพ ก็สามารถใช้โปรแกรมช่วยในการ Backup ก็ไม่ว่ากัน วิธีที่ง่ายและฟรี คือ ใช้โปรแกรม Backup ที่มากับวินโดวส์แล้ว (เรียกได้จาก All Programs\Accessorie\System Tools\Backup) ซึ่งใช้งานได้ดีในระดับนึง สำหรับวิธีการใช้งานอย่างละเอียดนั้น เอาไว้โอกาสต่อไปจะเขียนให้อ่านกันในครั้งต่อๆ ไปครับ และสำหรับวิธีการป้องกันข้อมูลสูญหายสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ การป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์จากมัลแวร์ และ การป้องกันข้อมูลสูญหาย
google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);


http://www.oknation.net/blog/itpro/2009/02/14/entry-1